เมนู

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงวิธีแห่งการระลึกถึงธรรม
นั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า จรํ วา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จรํ วา ความว่า เดินไปด้วยสามารถ
แห่งการเที่ยวภิกษาจาร หรือว่าด้วยสามารถแห่งการจงกรม. บทว่า ยทิ วา
ติฏฺฐํ
ความว่า เดินอยู่ก็ดี นั่งแล้วก็ดี. บทว่า อุท วา สยํ ความว่า
นอนอยู่ก็ดี ดำรงอยู่ในอิริยาบถแม้ทั้ง 4 อย่างนี้. บทว่า อชฺฌตฺตํ สมยํ
จิตฺตํ
ความว่า ในจิตของตนสงบ คือระงับอยู่ ในภายในอารมณ์กล่าวคือ
กัมมัฏฐาน ตามที่กล่าวมาแล้ว ด้วยสามารถแห่งการระงับ คือด้วยสามารถ
แห่งการละกิเลสทั้งหลาย มีราคะเป็นต้น. บทว่า สนฺติเมวาธิคจฺฉติ ความว่า
ถึงความสงบโดยส่วนเดียว คือพระนิพพานเท่านั้น.
จบอรรถกถาธรรมสูตรที่ 7

8. อันธการสูตร


ว่าด้วยอุกุศลและกุศลวิตก 3 ประการ


[266] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลวิตก 3 ประการนี้ การทำ
ความมืดมน ไม่กระทำปัญญาจักษุ กระทำความไม่รู้ ยังปัญญาให้ดับ เป็น
ไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน อกุศลวิตก 3 ประการ
เป็นไฉน ? คือ กามวิตก 1 พยาบาทวิตก 1 วิหิงสาวิตก 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อกุศลวิตก 3 ประการนี้แล กระทำความมืดมน ไม่กระทำปัญญาจักษุ กระทำ

ความไม่รู้ ยังปัญญาให้ดับ เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อ
นิพพาน.
[267] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลวิตก 3 ประการนี้ ไม่กระทำ
ความมืดมน การทำปัญญาจักษุ กระทำญาณ ยังปัญญาให้เจริญ ไม่เป็นไป
ในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน กุศลวิตก 3 ประการ
เป็นไฉน ? คือ เนกขัมมวิตก 1 อพยาบาทวิตก 1 อวิหิงสาวิตก 1 ดูก่อนภิกษุ-
ทั้งหลาย กุศลวิตก 3 ประการนี้แล ไม่กระทำความมืดมน กระทำปัญญาจักษุ
กระทำญาณ ยังปัญญาให้เจริญ ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไป
เพื่อนิพพาน.
พึงตรึกกุศลวิตก 3 ประการ แต่พึง
นำอกุศลวิตก 3 ประการออกเสีย พระ-
โยคาวจรนั้นแล ยังมิจฉาวิตกทั้งหลายให้
สงบระงับ เปรียบเหมือนฝนยังธุลีที่ลมพัด
ฟุ้งขึ้นแล้วให้สงบฉะนั้น พระโยคาวจรนั้น
มีใจอันเข้าไปสงบวิตก ได้ถึงสันติบทคือ
นิพพานในปัจจุบันนี้แล.

จบอันธการสูตรที่ 8

อรรถกถาอันธการสูตร


ในอันธการสูตรที่ 8 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อกุสลวิตกฺกา ได้แก่ วิตกทั้งหลายที่เกิดแต่ความไม่ฉลาด.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อนฺธกรณา ดังต่อไปนี้ วิตก ชื่อว่า
กระทำความมืดมน เพราะเกิดขึ้นเองแก่ผู้ใด จะทำให้ผู้นั้นมืดมน เพราะ
ห้ามการเห็นตามความจริง ชื่อว่า ไม่ทำปัญญาจักษุ เพราะไม่ทำให้เกิด
ปัญญาจักษุ. ชื่อว่า กระทำความไม่รู้ เพราะทำความไม่รู้. บทว่า ปญฺญา-
นิโรธา
ความว่า ชื่อว่า ยังปัญญาให้ดับ เพราะดับปัญญา 3 อย่างเหล่านี้
คือ กัมมัสสกตาปัญญา 1 ฌานปัญญา 1 วิปัสสนาปัญญา 1 โดยทำ
ไม่ให้เป็นไป. ชื่อว่า เป็นไปในฝักใฝ่แห่งความคับแค้น เพราะเป็น
ไปในฝักฝ่ายแห่งวิฆาตะ กล่าวคือทุกข์ เหตุที่ให้ผลอันไม่น่าปรารถนา.
ชื่อว่า ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะไม่ยังกิเลสนิพพาน ให้เป็นไป. บทว่า
กามวิตกฺโก ได้แก่ วิตกที่ปฏิสังยุตด้วยธรรม อธิบายว่า กามวิตกนั้นเป็น
วิตกที่ประกอบด้วยกิเลสกามแล้วเป็นไปในวัตถุกาม. วิตกที่ปฏิสังยุตด้วยพยาบาท
ชื่อว่า พยาบาทวิตก. วิตกที่ปฏิสังยุตด้วยวิหิงสา ชื่อว่า วิหิงสาวิตก.
และวิตกทั้ง 2 อย่างนี้ (กามวิตก และพยาบาทวิตก) เกิดขึ้นในสัตว์บ้าง
ในสังขารบ้าง. อธิบายว่า กามวิตก เกิดขึ้นแก่ผู้วิตกถึงสัตว์หรือสังขาร
อันเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ. พยาบาทวิตก เกิดขึ้นในสัตว์หรือสังขารอันไม่-
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ตั้งแต่เวลาที่โกรธ (เขา) แล้วมองดู จนถึงให้
ฉิบหายไป. วิหิงสาวิตก ไม่เกิดขึ้นในสังขารทั้งหลาย (เพราะว่า) ธรรมดา
สังขารที่จะให้เป็นทุกข์ไม่มี แต่จะเกิดขึ้นในสัตว์ทั้งหลาย ในเวลาที่คิดว่า
ขอสัตว์เหล่านี้ จงลำบากบ้าง จงถูกฆ่าบ้าง จงขาดสูญบ้าง จงพินาศบ้าง
อย่าได้มีเลยบ้าง.